10 อันดับสุดยอดภารกิจของนาซา
กล้อง โทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2009 อาจจะกลายเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่ขององค์การนาซาเช่นเดียวกับยานอพอลโล และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หากมันประสบความสำเร็จในการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ คล้ายดวงอาทิตย์ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้
แน่นอนว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์จะต้องถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสุดยอดภารกิจ ทางวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซาในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเว็บไซต์สเปซดอทคอมได้จัดอันดับไว้ 10 อันดับ มาดูกันว่าภารกิจเหล่านั้นเป็นปฏิบัติการของยานอวกาศลำใดบ้าง
10.ยานไพโอเนียร์ (Pioneer)
ยาน ไพโอเนียร์ 10 และ 11 ขึ้นสู่อวกาศในปี 1972 และ 1973 ตามลำดับ เป็นยานอวกาศสองลำแรกที่สำรวจดาวก๊าซยักษ์ของระบบสุริยะของเรา คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ยานไพโอเนียร์ 10 เดินทางผ่านวงแหวนดาวเคราะห์น้อยและบินผ่านดาวพฤหัสบดี มันสามารถถ่ายภาพ จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) พายุบนดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้มาให้ชมกันอย่างชัดๆ
ส่วนยานไพโอเนียร์ 11 นั้นบินผ่านดาวพฤหัสบดีและเดินทางต่อไปยังดาวเสาร์ ที่นั่นมันค้นพบดวงจันทร์ขนาดเล็กของดาวเสาร์สองดวงและวงแหวนใหม่
ปัจจุบันยานทั้งสองลำหยุดส่งข้อมูลมายังโลกแล้ว และกำลังเดินทางออกนอกระบบสุริยะเช่นเดียวกับยานแฝดวอยเอเจอร์
9.ยานวอยเอเจอร์ (Voyager)
หลัง จากยานแฝดไพโอเนียร์บินผ่านดาวก๊าซยักษ์ได้ไม่นานนัก ยานอวกาศอีกสองลำก็เดินทางไปสำรวจดาวก๊าซยักษ์อย่างละเอียด นั่นคือยานวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ยานทั้งสองลำได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มากมาย เช่น พบวงแหวนของดาวพฤหัสบดี ภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอ บริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น
วอ ยเอเจอร์ยังเป็นยานลำแรกที่บินผ่านดาวยูเรนัสและเนปจูนอีกด้วย มันค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของดาวยูเรนัสมากถึง 10 ดวง และพบว่าดาวเนปจูนมีน้ำหนักน้อยกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยประมาณไว้
ปัจจุบันยานแฝดวอยเอเจอร์กำลังเดินทางออกนอกระบบสุริยะเพื่อสำรวจอวกาศระหว่างดวงดาว และขณะนี้มันกำลังสำรวจบริเวณขอบระบบสุริยะ
8.ยานดับเบิลยูแมพ (WMAP)
ยาน หรือดาวเทียมดับเบิลยูแมพ (Wilkinson Microwave Anisotropy Probe -WMAP) ชื่อไม่คุ้นหูนักแต่สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการศึกษาจักรวาล นั่นคือการวัดอุณหภูมิของรังสีที่เหลืออยู่หลังการระเบิดบิ๊กแบง จากการทำแผนที่การกระเพื่อมของรังสีที่เรียกกันว่ารังสีฉากหลังของจักรวาลทำ ให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจธรรมชาติและจุดกำเนิดของจักรวาล
ข้อมูลจาก ยาน WMAP ยังทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดอายุของจักรวาลได้เท่ากับ 13.7 พันล้านปี และยืนยันว่านอกจากสสารปกติแล้ว ส่วนประกอบของจักรวาลประมาณ 95% เป็นสสารมืดและพลังงานมืด
7.กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope)
นี่ คือหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทำให้นักจักรวาลวิทยาและนักฟิสิกส์ดารา ศาสตร์เข้าใจจักรวาลมากขึ้นผ่านดวงตาอินฟราเรดของมัน ภาพถ่ายกาแล็กซี่ เนบิวลา และดาวฤกษ์จำนวนมากทำให้เกิดการค้นพบใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในปี 2005 กล้องอวกาศสปิตเซอร์กลายเป็นกล้องตัวแรกที่สามารถตรวจจับแสงของดาวเคราะห์ นอกระบบสุริยะได้
นักดาราศาสตร์หลายคนเชื่อว่า วันหนึ่งกล้องอวกาศสปิตเซอร์จะสามารถตรวจจับแสงจากดาวฤกษ์ดวงแรกๆ ที่กำเนิดขึ้นในจักรวาลได้
ปัจจุบันยานแฝดวอยเอเจอร์กำลังเดินทางออกนอกระบบสุริยะเพื่อสำรวจอวกาศระหว่างดวงดาว และขณะนี้มันกำลังสำรวจบริเวณขอบระบบสุริยะ
8.ยานดับเบิลยูแมพ (WMAP)
ยาน หรือดาวเทียมดับเบิลยูแมพ (Wilkinson Microwave Anisotropy Probe -WMAP) ชื่อไม่คุ้นหูนักแต่สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการศึกษาจักรวาล นั่นคือการวัดอุณหภูมิของรังสีที่เหลืออยู่หลังการระเบิดบิ๊กแบง จากการทำแผนที่การกระเพื่อมของรังสีที่เรียกกันว่ารังสีฉากหลังของจักรวาลทำ ให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจธรรมชาติและจุดกำเนิดของจักรวาล
ข้อมูลจาก ยาน WMAP ยังทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดอายุของจักรวาลได้เท่ากับ 13.7 พันล้านปี และยืนยันว่านอกจากสสารปกติแล้ว ส่วนประกอบของจักรวาลประมาณ 95% เป็นสสารมืดและพลังงานมืด
7.กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope)
นี่ คือหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทำให้นักจักรวาลวิทยาและนักฟิสิกส์ดารา ศาสตร์เข้าใจจักรวาลมากขึ้นผ่านดวงตาอินฟราเรดของมัน ภาพถ่ายกาแล็กซี่ เนบิวลา และดาวฤกษ์จำนวนมากทำให้เกิดการค้นพบใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในปี 2005 กล้องอวกาศสปิตเซอร์กลายเป็นกล้องตัวแรกที่สามารถตรวจจับแสงของดาวเคราะห์ นอกระบบสุริยะได้
นักดาราศาสตร์หลายคนเชื่อว่า วันหนึ่งกล้องอวกาศสปิตเซอร์จะสามารถตรวจจับแสงจากดาวฤกษ์ดวงแรกๆ ที่กำเนิดขึ้นในจักรวาลได้
6.รถหุ่นยนต์สปิริตและอ๊อพพอร์จูนิตี้ (Spirit & Opportunity)
ภารกิจ ของรถหุ่นยนต์สปิริตและอ๊อพพอร์จูนิตี้ คือสำรวจพื้นผิวดาวอังคารเพื่อค้นหาร่องรอยของน้ำเป็นเวลา 90 วันหลังจากยานแม่นำมันลงบนพื้นผิวดาวอังคารในเดือน มกราคม ปี 2004 ทว่า รถหุ่นยนต์ทั้งสองคันปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารได้ยาวนานกว่า 5 ปี โดยปัจจุบันก็ยังคงทำการสำรวจอยู่ ผลงานที่ยอดเยี่ยมคือการค้นพบหลักฐานร่องรอยน้ำบนพื้นผิวดาวอังคารในอดีต
5.ยานแคสสินีและฮอยเกนส์ (Cassini-Huygens)
โครง การแคสสินี-ฮอยเกนส์ เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การนาซากับองค์การอวกาศยุโรป ยานแม่แคสสินีและยานลูกฮอยเกนส์ออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2004 เป้าหมายคือ ดาวเสาร์ วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ยานฮอยเกนส์ขององค์การอวกาศยุโรปดีดตัวออกจากยานแคสสินีลงสู่พื้นผิวดวง จันทร์ไททันได้สำเร็จเมื่อปี 2005 ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นรายละเอียดพื้นผิวดวงจันทร์ไททันใกล้ๆ เป็นครั้งแรก
แม้ ว่าจะมียานอวกาศหลายลำเคยสำรวจดาวเสาร์มาแล้ว แต่ทว่า ยานแคสสินีเป็นยานลำแรกที่โคจรรอบดาวเสาร์และศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์ บริวารอย่างละเอียด
4.กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory)
ปี 1999 องค์การนาซาได้ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทราขึ้นสู่อวกาศ มันเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่สแกนท้องฟ้าเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางดารา ศาสตร์ที่น่าพิศวงซึ่งอยู่ไกลโพ้นอย่างเช่นการระเบิดซุปเปอร์โนวาโดยการตรวจ จับรังสีเอ็กซ์ กล้องอวกาศนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ากล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์ที่มีอยู่ ถึง100เท่า
ผลงานเด่นของกล้องอวกาศรังสีเอ็กซ์จันทราคือการแสดงให้เห็นเศษซากของดาวฤกษ์ที่หลงเหลืออยู่จากการระเบิดซุปเปอร์โนวาแคสซิโอเปีย
3.ยานไวกิ้ง (Viking)
เมื่อ ยานไวกิ้งทัชดาวน์พื้นผิวดาวอังคารในเดือนกรกฎาคม ปี 1976 มันได้กลายเป็นยานที่ไร้คนขับลำแรกที่ร่อนลงบนดาวอังคารอย่างปลอดภัย ยานไวกิ้งได้ส่งภาพสีพื้นผิวดาวอังคารมายังโลก ทำให้เราเห็นพื้นผิวสีแดง บนดาวดวงนี้เป็นครั้งแรก
ยานไวกิ้งยังเป็นเจ้าของสถิติการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารที่นานที่สุด คือ 6 ปีกับอีก 116 วัน อีกด้วย
2.กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope)
นี่ คือสุดยอดของยานอวกาศของนาซา และเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นชัยชนะของนักวิทยาศาสตร์ในการขจัดอุปสรรคขวางกั้นของชั้นบรรยากาศของ โลกที่บดบังท้องฟ้า
กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลส่งภาพถ่ายที่เปลี่ยนแปลงความคิดที่นักวิทยาศาสตร์มีต่อปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์แทบจะเป็นรายวันเลยทีเดียว
1.ยานอพอลโล (Apollo)
ภารกิจ ทางวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดขององค์การนาซาก็คือ ภารกิจของยานอพอลโลซึ่งไม่เพียงสร้างประวัติศาสตร์ในการนำมนุษย์ลงเหยียบบน ดวงจันทร์เท่านั้น แต่ยังเป็นปฏิบัติการแรกที่นำวัตถุจากนอกโลกกลับมายังโลกอีกด้วย
จาก การศึกษาพื้นผิวดวงจันทร์ของมนุษย์อวกาศและหินที่นำกลับมาจากดวงจันทร์ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้อายุและส่วนประกอบของดวงจันทร์และแม้กระทั่ง จุดกำเนิดของดวงจันทร์ด้วย
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1259206
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น