ปัญหาการพัฒนาพลังงานของประเทศไทยยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งหลายคราก็ทำให้การพัฒนาพลังงานเกิดความล่าช้า และไม่รู้ว่าจะเดินไปทิศทางไหน เพราะแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่กันเท่าที่ควร ผลที่ตามมาจึงเป็นความเห็นที่แตกต่างกัน คงถึงเวลาที่จะต้องรีบสร้างความเข้าใจและเปิดอกรับฟังกัน เพื่อรับมือกับวิกฤติพลังงานที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยมีนักวิชาการเข้ามาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง “โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ทางรอดพลังงานไทย ที่ชุมชนต้องร่วมเรียนรู้” ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื่องจากพื้นที่นี้จะมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 600 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในอนาคต
อาจารย์สุรพันธ์ วงษ์โอภาสี นักวิชาการด้านพลังงานและเลขาธิการศูนย์พัฒนาการใช้ถ่านหินแห่งประเทศไทย ได้อธิบายให้เห็นยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานในภาพรวมว่า มีเรื่องที่ควรพิจารณาอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่คำนึงถึงต้นทุนการผลิตเพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ไฟที่คุ้มค่าราคาถูก 2.ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม 3.ด้านเทคโนโลยี เน้นความพร้อมและสามารถนำมาใช้ได้จริง และ 4.ด้านความมั่นคงทางพลังงาน เชื้อเพลิงต้องมีปริมาณสำรองมากพอที่จะผลิตไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง การกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานจึงควรมองให้ครบทั้ง 4 ด้าน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศจะมุ่งเน้นเรื่องไหน
สำหรับประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าสูงถึงเกือบ 70% และมีอัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4-5% พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 23,900 เมกะวัตต์ ในปี 2554 เป็น 26,121 เมกะวัตต์ ในปี 2555 ในขณะที่ปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองลดลงจาก 24.17% ในปี 2554 เหลือ 16.95% ในปี 2555 หากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น อีกประมาณ 3-4 ปี ประเทศไทยก็จะมีไฟฟ้าไม่พอใช้และเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง (Blackout)
ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าจากการใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน รวมถึงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าประเภทอื่นไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ่านหินมีปริมาณสำรองที่มากพอสำหรับรองรับการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าจากการใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน รวมถึงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าประเภทอื่นไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ่านหินมีปริมาณสำรองที่มากพอสำหรับรองรับการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น