วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เผยกลไกสมองในการควบคุมอารมณ์ตนเอง

04
 
การระงับอารมณ์ของตัวเอง กับการได้รับคำสั่งให้เก็บอารมณ์ของตัวเองนั้น ส่งผลให้สมองถูกกระตุ้นไม่เหมือนกัน จากการค้นพบของนักวิทยาสตร์อังกฤษและเบลเยี่ยม
 
งานวิจัยจากสถาบันประสาทวิทยาการรับรู้ มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเยี่ยม ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Brain Structure and Function แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสแกนสมองของอาสาสมัครแล้วพบว่า ระบบสมองบางส่วนจะถูกกระตุ้นเมื่อคนๆหนึ่งเลือกที่จะเก็บอารมณ์ความรู้สึก ของตัวเองเอาไว้ด้วยการตัดสินใจของตัวเอง
 
"ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การควบคุมความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวข้องกับสมองคนละส่วนกับที่เมื่อได้รับคำ สั่งให้ตอบสนองต่ออารมณ์อย่างไร" ดร.ไซม่อน คุห์น แห่งมหาวิทยาเกนท์ หัวหน้าทีมวิจัยเผย
 
ในการศึกษาก่อนหน้านี้ อาสาสมัคมักจะได้รับคำสั่งให้ควบคุมความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ แต่ในชีวิตประจำวันของคนนั้น ไม่มีใครได้รับคำสั่งให้เก็บระงับความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ และโดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมาจากการตัดสินใจของตัวเองว่าจะรู้สึกหรือควบคุม อารมณ์ตนเองอย่างไร
 
ในการศึกษาครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้แสดงภาพที่น่ากลัวหรือภาพที่ทำให้รู้สึกไม่ดีต่อผู้หญิง 15 คน อาสาสมัครกลุ่มนี้สามารถเลือกได้เองว่าจะแสดงความรู้สึกนั้นออกมาเมื่อเห็น ภาพหรือจะเก็บความรู้สึกเอาไว้
 
นักวิจัยได้ใช้  functional magnetic resonance imaging (fMRI) ทำการสแกนสมองของอาสาสมัคร และได้เปรียบเทียบกิจกรรมของสมองกับการทดลองอื่นที่อาสาสมัครแต่ละคนได้รับ คำสั่งให้แสดงความรู้สึกออกมา หรือได้รับคำสั่งให้เก็บความรู้สึกเอาไว้ (ไม่ได้เลือกด้วยตัวเอง)
 
นักวิจัยพบว่า สถานการณ์ที่แตกต่างกันดังกล่าวนี้ ทำให้สมองถูกกระตุ้นคนละส่วนกัน เมื่ออาสาสมัครตัดสินใจว่าจะเก็บความรู้สึกลบเอาไว้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองส่วน dorso-medial prefrontal จะได้รับการกระตุ้น ซึ่งฏ็สอดคล้องกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะยับยั้งการ เคลื่อนไหว
 
ตรงกันข้าม อาสาสมัครในอีกการทดลองหนึ่งที่ได้รับคำสั่งว่าต้องเก็บความรู้สึกเอาไว้ จะมีกระตุ้นที่สมองส่วน lateral มากกว่า
 
"เราคิดว่า การควบคุมความรู้สึกของคนๆหนึ่ง กับการควบคุมพฤติกรรมของคนๆหนึ่ง มีกลไกที่ซ้อนเหลื่อมกัน" ดร.คุห์นเผย
 
"เราควรจะแยกแยกว่า การควบคุมความรู้สึกแบบสมัครใจกับแบบได้รับคำสั่ง มันไม่เกี่ยวข้องกันเลย เราต้องแยกแบบเดียวกับที่เราแยกว่า อันไหนที่เราตัดสินใจทำเอง กันอันไหนที่ได้รับคำสั่งให้ทำ"
 
การควบคุมอารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา และเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพจิตของคน ตัวอย่างเช่น หลายคนมักจะกลัวที่จะต้องพูดต่อสาธารณชน ขณะที่บางคนเช่น พนักงานดับเพลิง จะต้องควบคุมความกลัวที่เกิดขึ้นในอาชีพของตัวเอง
 
ศาสตราจารย์แพทริก ฮากการ์ด แห่งสถาบันประสาทวิทยาการรับรู้ มหาวิทยาลัยลอนดอน นักวิจัยร่วมในงานวิจัยครั้งนี้ชี้ว่า การศึกษาครั้งน่าจะทำให้เราไปสู่วิธีการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
 
"ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของคนก็เป็นผลมาจากสุขภาพจิตของแต่ละคนเช่นกัน ดังนั้น การศึกษากลไกนี้ทำให้เรานำไปต่อยอดได้อีกมาก"
 
"การศึกษาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอารมณ์ในสมองต่างก็ตั้ง สมมติฐานว่า คนจะถูกกระตุ้นแล้วจึงเกิดอารมณ์ และก็จะตอบสนองต่ออารมณ์นั้นโดยอัตโนมัติ แต่ในทางตรงข้ามแล้ว พื้นที่สมองที่ถูกกระตุ้นแล้วแท้ที่จริงก็ขึ้นกับความสามารถของแต่ละคนในการ ควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย"
 
"กลไกการควบคุมตนเองนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ดี เช่นว่า เราอาจจะโดนมองไม่ดีหากว่าแสดงออกทางอารมณ์ตรงเกินไป แต่การเก็บอารมณ์เกินไปจนฟังก์ชันส่วนนี้ในสมองเปลี่ยนไป อาจจะทำให้เราเลือกการตอบสนองต่ออารมณ์หนึ่งๆยากขึ้นไปด้วย ก็เป็นได้"
 
อ้างอิง: University College London (2013, May 9). Brain system for emotional self-control discovered. ScienceDaily. Retrieved May 10, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/05/130509104354.htm
งานวิจัย: http://www.eurekalert.org/pub_releases/2013-05/ucl-sfb050913.php 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://vcharkarn.com/vnews/446838

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น